หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

โครงร่างงานวิจัย 8.ข้อตกลงเบื้องต้น (Assumption)

         ภิรมย์  กมลรัตนกุล  (http://rdi.snru.ac.th/UserFiles/File/3(1).pdf)  กล่าวว่า  การวิจัยบางเรื่องอาจมีข้อจำกัดหลายอย่างในทางปฏิบัติ ต้องตั้งข้อสมมุติบางอย่างเป็นข้อตกลงเบื้องต้น เสมือนเป็นการกำหนด scope ในการวิจัย เช่น กำหนดข้อตกลงเบื้องต้นว่า คนงานที่มาทำงานในวันที่ผู้วิจัยเข้าไปสำรวจ ไม่ต่างจากคนงานที่มาทำงานในวันปกติอื่นๆ ผู้วิจัยต้องระวังอย่าให้ข้อตกลงเบื้องต้นเป็นตัวทำลายความถูกต้องของงานวิจัย

          http://www.learners.in.th/blogs/posts/450209  กล่าวว่า  การวิจัยบางเรื่อง อาจมีข้อจำกัดหลายอย่างในทางปฏิบัติ ซึ่งจำเป็นต้องตั้งข้อสมมติบางอย่าง เป็นข้อตกลงเบื้องต้นขึ้น เช่น ผู้วิจัยจะเข้าไปสัมภาษณ์ คนงานในโรงงานแห่งหนึ่ง อาจจำเป็นต้อง กำหนดข้อตกลงเบื้องต้นว่า  "คนงานที่มาทำงาน ในวันที่ผู้วิจัยเข้าไปสำรวจ ไม่ต่างไปจาก คนงานที่มาทำงาน ในวันปกติอื่น ๆ" อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยต้องระวัง อย่าให้ข้อตกลงเบื้องต้น เป็นตัวทำลายความถูกต้องของงานวิจัย

          องอาจ นัยพัฒน์ (2548 : 401) กล่าวว่า  เป็นการเขียนเพื่อแถลงการณ์ให้ ผู้อ่านทราบกรอบบังคับหรือปัจจัยพื้นฐานบางประการที่ทำให้การดำเนินการวิจัย ไม่สามารถกระทำได้อย่างสมบูรณ์เท่าที่ควรจะเป็น อันเป็นผลให้ข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษาวิจัยสรุปอ้างอิงไปสู่ประชากรภายใต้ ขอบเขตจำกัด ๆไม่สามารถขยายข้อค้นพบจากการวิจัยไปสู่วงกว้างได้ กล่าวคือการกำหนดขอบเขตของการวิจัยให้กว้างหรือแคบมีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อ จำกัดของการศึกษาวิจัย

          สรุป
     ข้อตกลงเบื้องต้น   (Assumption) หมายถึง เป็นข้อเท็จจริงในการทำการวิจัยและผลการวิจัยที่ได้รับซึ่งจะต้องเป็นที่ยอมรับได้ โดยไม่ต้องพิสูจน์แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักเหตุผล มีหลักฐานข้อเท็จจริงสนับสนุนอ้างอิงและเชื่อถือได้  

          อ้างอิง
     ภิรมย์  กมลรัตนกุล.  [ออนไลน์].  http://rdi.snru.ac.th/UserFiles/File/3(1).pdf.  เข้าถึงเมื่อ  15  พฤศจิกายน  2555.
     http://www.learners.in.th/blogs/posts/450209.  เข้าถึงเมื่อ  15  พฤศจิกายน  2555.     
     องอาจ นัยพัฒน์.  (2548).  วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.  กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามลดา.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น