ภิรมย์ กมลรัตนกุล (http://rdi.snru.ac.th/UserFiles/File/3(1).pdf) กล่าวว่า โดยให้รายละเอียดว่า จะเก็บข้อมูลอะไร? จากแหล่งไหน? (source of data) เก็บอย่างไร? ใครเป็นผู้เก็บ? ใครเป็นผู้บันทึกข้อมูลที่เก็บได้? บันทึกลงที่ไหน? อย่างไร? และกล่าวถึง การควบคุม และตรวจสอบ คุณภาพของข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่รวบรวมมาได้ มีความถูกต้อง แม่นยำ และสมบูรณ์ ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
Longdo Dict (http://dict.longdo.com/search) กล่าวว่า การรวบรวมข้อมูล หมายถึง การจัดเก็บอย่างมีระบบ การเรียกหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว การประมวลผล การวิเคราะห์ผลที่ได้จากการประมวลนั้น รวมไปถึงการเน้นในเรื่องการแสดงผล และประชาสัมพันธ์สารสนเทศนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ ในรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้ที่จะนำไปใช้ต่อไป ตลอดไปจนถึงการสื่อสารข้อมูล
สรุป
การรวบรวมข้อมูล ( Data Colloction ) หมายถึง เป็นกระบวนการและเทคนิควิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือการแสวงหาข้อมูล โดยจะดำเนินการอย่างไรบ้าง ในช่วงเวลาใด อาจใช้วิธีการสอบถาม แบบทดสอบ การสัมภาษณ์ เป็นต้นเพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการวิจัย
อ้างอิง
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร.
ภิรมย์ กมลรัตนกุล. [ออนไลน์]. http://rdi.snru.ac.th/UserFiles/File/3(1).pdf. เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2555.
Longdo Dict. [ออนไลน์]. http://dict.longdo.com/search. เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2555.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น