หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

โครงร่างงานวิจัย 6.สมมติฐาน (Hypothesis)

          ภิรมย์  กมลรัตนกุล  (http://rdi.snru.ac.th/UserFiles/File/3(1).pdf)  กล่าวว่า  การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเน (predict) หรือการทายคำตอบของปัญหา อย่างมีเหตุผล จึงมักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระ (independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) เช่น การติดเฮโรอีนชนิดฉีด เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรค AIDS12  สมมติฐาน ทำหน้าที่เสมือน เป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป  สมมติฐานที่ตั้งขึ้น ไม่จำเป็นต้องถูกเสมอไป แต่ถ้าทดสอบแล้ว ผลสรุปว่าเป็นความจริง ก็จะได้ความรู้ใหม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม งานวิจัยบางชนิด ไม่จำเป็นต้องมีสมมติฐาน เช่น การวิจัยขั้นสำรวจ (exploratory or formulative research) เป็นต้น

          ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์ (http://www.watpon.com/Elearning/res5.htm กล่าวว่า สมมติฐาน (Hypothesis) คือ คำตอบที่ผู้วิจัยคาดคะเนไว้ล่วงหน้าอย่างมีเหตุมีผล เพื่อตอบความมุ่งหมายของงานวิจัยที่ได้วางไว้ เป็นข้อความที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ต้องเป็นประโยคบอกเล่า ตั้งไว้ล่วงหน้า อย่างมีเหตุมีผล โดยศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องหรือเอกสารต่าง ๆ สมมติฐานแต่ละข้อต้องมีตัวแปรที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ตัวใน 2 ลักษณะคือ ลักษณะเปรียบเทียบและความสัมพันธ์

           http://www.learners.in.th/blogs/posts/450209  กล่าวว่า  การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเน (predict) หรือการทายคำตอบของปัญหาอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ (independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variables) งานวิจัยบางอย่างไม่จำเป็นต้องมีสมมติฐาน
          สมมติฐานที่ดีจะทำให้ทราบว่า ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง ได้ข้อมูลจากใคร ใช้วิธีใดในการเก็บเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์และเชื่อถือได้มากที่สุด สมมุติฐานที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร จะบอกให้ ทราบถึงระดับการวัดและการวิเคราะห์ข้อมูล ว่าจะวิเคราะห์ในลักษณะเปรียบเทียบ,ลักษณะความสัมพันธ์ หรือประมาณค่า parameter บางตัวของประชากร ทราบว่าจะใช้สถิติอะไรจึงจะเหมาะสมที่สุด

          สรุป
     สมมติฐาน (Hypothesis) คือ  การคาดคะเนคำตอบ ที่อาจเป็นไปได้หรือคิดหาคำตอบล่วงหน้าบนฐานข้อมูลที่ได้จากการสังเกต ปรากฏการณ์  และการศึกษาเอกสารต่างๆ โดยคำตอบของปัญหาซึ่งคิดไว้นี้อาจถูกต้องแต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับจนกว่าจะมี การทดลองเพื่อตรวจสอบอย่างรอบคอบเสียก่อ

อ้างอิง
     ภิรมย์  กมลรัตนกุล.  [ออนไลน์].  http://rdi.snru.ac.th/UserFiles/File/3(1).pdf.  เข้าถึงเมื่อ  15  พฤศจิกายน  2555.
     ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. [ออนไลน์]. http://www.watpon.com/Elearning/res5.htm.เข้าถึงเมื่อวันที่  15 พฤศจิกายน 2555.       
     http://www.learners.in.th/blogs/posts/450209.  เข้าถึงเมื่อ  15  พฤศจิกายน  2555.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น