(planning) ดำเนินงานตามแผน (implementation) และประเมินผล (evaluation) ในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงาน ตั้งแต่เริ่มแรก จนเสร็จสิ้นโครงการ เป็นขั้นตอน ดังนี้
1. วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
2. กำหนดกิจกรรม (activities) ต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้
3. ทรัพยากร (resources) ที่ต้องการ ของแต่ละกิจกรรม รวมทั้งเวลาที่ใช้ ในแต่ละขั้นตอน ทรัพยากร
เหล่านั้น ที่มีอยู่แล้ว มีอะไรบ้าง และมีอะไร ที่ต้องการเสนอขอ จำนวนเท่าใด
4. การดำเนินงาน (Implementation) ต้องตัดสินใจ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูลสำหรับการบริหารงานบุคคล จำเป็นต้องดำเนินการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับ
ก. การจัดองค์กร (Organizing)
ข. การสั่งงาน (Directing)
ค. การควบคุมการจัดองค์กร (Organization Control)
ง. การควบคุมโครงการ (Project Control)
จ. การนิเทศงาน (Supervising)
เฉลิมลาภ ทองอาจ (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/424637) กล่าวว่า การบริหารการวิจัยจึงหมายถึง การดำเนินการต่างๆ เพื่อให้มีการผลิตหรือสร้างสรรค์การวิจัย การวางแผนการวิจัย การติดตามและควบคุมดูแลการวิจัยให้ดำเนินไปตามแผน การเผยแพร่และใช้ผลงานวิจัย
เสนาะ ติเยาว์ (2544 : 1) กล่าวว่า ได้ให้ความหมายของการบริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
สรุป
การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน (Administration & Time Schedule) คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งแยกตามสาระของความหมายนี้ได้ 5 ลักษณะ คือ
1. การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
2. การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
3. การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
4. การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
5. การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง
อ้างอิง
ภิรมย์ กมลรัตนกุล. [ออนไลน์]. http://rdi.snru.ac.th/UserFiles/File/3(1).pdf. เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2555.
เฉลิมลาภ ทองอาจ. [ออนไลน์]. http://www.gotoknow.org/blogs/posts/424637 .เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2555.
เสนาะ ติเยาว์. (2544). หลักการบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น