http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 กล่าวว่า เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น จึงต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง ซึ่งอาจทำได้โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของสาขาวิชา หรือกำหนดกลุ่มประชากร สถานที่วิจัย หรือระยะเวลา
นิรันดร์ จุลทรัพย์ (2552:293) กล่าวว่า ข้อจำกัดของการวิจัยเป็นการแจ้งให้ผู้อ่านรายงานการวิจัยได้ทราบว่าในการ ศึกษาวิจัยนี้มีอุปสรรคและข้อจำกัดอะไรบ้างที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
สรุป
ข้อจำกัดในการวิจัย (Limitation) / ขอบเขตการทำวิจัย หมายถึง ความคาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นเองในการวิจัย โดยผู้วิจัยไม่สามารถควบคุม หลีกเลี่ยงได้ และสิ่งนั้นมีอิทธิพลต่อข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลทำให้การวิจัยได้ผลไม่สมบูรณ์
อ้างอิง
จำเรียง กูรมะสุวรรณ. (2529). สถิติและการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สามเจริญพานิช.
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921. เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2555.
นิรันดร์ จุลทรัพย์. (2552). การวิจัยทางจิตวิทยาการแนะแนว. (พิมพ์ครั้งที่ 2) . กรุงเทพฯ : นำศิลป์โฆษณา.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น