พัชรา สินลอยมา(http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=1) กล่าวว่า กรอบแนวคิดการวิจัย หมายถึง กรอบของการวิจัยในด้านเนื้อหาสาระ ซึ่งประกอบด้วยตัวแปร และการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ในการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องมีกรอบพื้นฐานทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ศึกษาและมโนภาพ(concept)ในเรื่องนั้น แล้วนำมาประมวลเป็นกรอบในการกำหนดตัวแปรและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ในลักษณะของกรอบแนวคิดการวิจัยและพัฒนาเป็นแบบจำลองในการวิจัยต่อไป
สมปอง เขียวช่วยพรม ( http://www.gotoknow.org/blogs/posts/400137 ) กล่าวว่า การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย เป็นขั้นตอนของการนำเอาตัวแปรและประเด็นที่ต้องการทำวิจัยมาเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวข้องในรูปของคำบรรยาย แบบจำลองแผนภาพหรือแบบผสมการวาง กรอบแนวคิดในการวิจัยที่ดี จะต้องชัดเจน แสดงทิศทางของความสัมพันธ์ ของสิ่งที่ต้องการศึกษา หรือตัวแปรที่จะศึกษา สามารถใช้เป็นกรอบในการกำหนดขอบเขตของการวิจัย การพัฒนาเครื่องมือในการวิจัย รูปแบบการวิจัย ตลอดจนวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล
สรุป
กรอบแนวความคิดการวิจัย ( Conceptual ramework) หมายถึง กรอบการวิจัยในเรื่องเนื้อหาสาระ ประกอบด้วยตัวแปร การระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆที่ต้องการศึกษา เพื่อหาคำตอบการวิจัยโดยมีพื้นฐานเชิงทฤษฏีรองรับ มิใช่กำหนดขึ้นตามความพอใจโดยปราศจากหลักเกณฑ์
อ้างอิง ภิรมย์ กมลรัตนกุล. [ออนไลน์]. http://rdi.snru.ac.th/UserFiles/File/3(1).pdf. เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2555.
พัชรา สินลอยมา. [ออนไลน์]. http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=1. เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555.
สมปอง เขียวช่วยพรม. [ออนไลน์]. http://www.gotoknow.org/blogs/posts/400137. เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น