ภิรมย์ กมลรัตนกุล (http://rdi.snru.ac.th/UserFiles/File/3(1).pdf) กล่าวว่า ในการวิจัย อาจมี ตัวแปร (variables) หรือคำ (terms) ศัพท์เฉพาะต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องให้คำจำกัดความอย่างชัดเจน ในรูปที่สามารถสังเกต (observation) หรือวัด (measurement) ได้ ไม่เช่นนั้นแล้ว อาจมีการแปลความหมายไปได้หลายทาง ตัวอย่างเช่น คำว่า คุณภาพชีวิต, ตัวแปรทีเกี่ยวกับความรู้ (ความรู้สูง, ปานกลาง, ต่ำ) ทัศนคติ (ดี-ไม่ดี), ความพึงพอใจ, ความปวด เป็นต้น
http://www.learners.in.th/blogs/posts/450209 กล่าวว่า การวิจัยอาจมีตัวแปรหรือคำศัพท์เฉพาะ จำเป็นต้องให้คำจำกัดความอย่างชัดเจนในรูปที่สามารถสังเกต (observe) หรือวัด (measure) ได้
เพ็ญแข แสงแก้ว (2541:74) กล่าวว่า คำนิยามเชิงปฏิบัติการ คือข้อความที่กำหนดวิธีการต่างๆที่สามารถนำไปปฏิบัติหรือวัดค่าของตัวแปรนั้นออกมาได้ โดยการระบุกิจกรรหรือการดำเนินงานที่จำเป็นต่อการวัดตัวแปร ซึ่งเปรียบเสมือนคู่มือของผู้วิจัยในการวัดค่าตัวแปรนั้น
สรุป
การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย (Operational Defenition) หมายถึง ตัวแปร หรือคำศัพท์เฉพาะต่างๆ ที่จำเป็นต้องให้คำจำกัดความอย่างชัดเจนในรูที่สามารถสังเกต หรือวัดได้ ไม่เช่นนั้นแล้วอาจมีการแปรความหมายไปได้หลายทาง
อ้างอิง
ภิรมย์ กมลรัตนกุล. [ออนไลน์]. http://rdi.snru.ac.th/UserFiles/File/3(1).pdf. เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2555.
http://www.learners.in.th/blogs/posts/450209. เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2555.
เพ็ญแข แสงแก้ว. (2541). การวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น