1. ประชากร (population) และตัวอย่าง (sample) มีรายละเอียดในเรื่อง
1) หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกประชากรและตัวอย่าง ทั้งกฎเกณฑ์ในการคัดเลือกเข้ามาศึกษา(inclusion criteria) และกฎเกณฑ์ในการตัดออกจากการศึกษา (exclusion criteria)
2) เทคนิคในการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหรือไม่อาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็น
3) การคำนวณขนาดตัวอย่าง ขนาดตัวอย่างที่คำนวณได้จะเป็นจำนวนตัวอย่างที่น้อยที่สุดที่สามารถตอบคำถามหลักของการวิจัยนั้น
2. การสังเกตและการวัด (Observation & Measurement)
1) ตัวแปรและคำนิยามเชิงปฏิบัติ
2) เครื่องมือที่ใช้ในการวัดตัวแปร
3. วิธีการหรือสิ่งแทรกแซง (Intervention) กรณีเป็นการวิจัยเชิงทดลอง ควรอธิบายให้ละเอียดว่าใคร ทำอะไร ให้แก่ใคร ด้วยวิธีการอย่างไร ระยะเวลาที่ให้สิ่งแทรกแซง
พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2547:153) กล่าวว่า ระเบียบวิธีวิจัยเป็นวิธีการที่ใช้สืบแสะหาความรู้ความจริง ซึ่งมีรูปแบบในการหาความรู้ ความจริงต่างๆกันหลายรูปแบบ ผู้วิจัยควรจะเลือกใช้ให้เหมาะกับจุดมุ่งหมายของการวิจัยหรือธรรมชาติของสิ่งที่จะศึกษา
รัตนะ บัวสนธ์ (2551) กล่าวว่า ระเบียบวิธีวิจัย หมายถึง กระบวนทัศน์ (Paradigm) ทฤษฎี หลักการ และกระบวนการดำเนินงานทุกขั้นตอน จึงครอบคลุมไปถึงวิธีการและเทคนิคของการวิจัยด้วย ซึ่งวิธีการและเทคนิคของการวิจัยเป็นเรื่องของกาทำกิจกรรมขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของการวิจัยเท่านั้น
สรุป
ระเบียบวิธีวิจัย ( Research Methodology ) หมายถึง เป็นคำที่มีความหมายครอบคลุมทั้งหมดของกระบวนการดำเนินการวิจัย นับตั้งแต่ปัญหาการวิจัย รูปแบบการวิจัย วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล การตีความและสรุปการวิจัย ซึ่งรูปแบบการวิจัยเกี่ยวข้องกับการออกแบบการวิจัยเป็นแกนประสานปัญหาการวิจัยกับวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
อ้างอิง
http://www.learners.in.th/blogs/posts/450209. เข้าถึงเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2555.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มีสท์.
รัตนะ บัวสนธ์. (2551). ปรัชญาวิจัย (Philosophy of Research). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น