หน้าเว็บ

วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

โครงร่างงานวิจัย 3.ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Review of Related Literatures)

          สุรเชษฎ์  เพ็ญพร  (http://www.gotoknow.org/posts/452402)  กล่าวว่า  ก่อนจะวางแผนทำวิจัยเรื่องใด ควรมีการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำวิจัยอย่างละเอียดและรอบคอบ เพื่อทำให้เข้าใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับเรื่องนั้น
     การอ่านเอกสารจะต้องใช้วิจารณญาณในการประเมิน โดยวิเคราะห์ใน 2 ประเด็น คือ เอกสารนั้นถูกต้องและเชื่อถือได้หรือไม่ แล้วสามารถประยุกต์เข้ากับเรื่องที่เราจะศึกษาหรือไม่
     จากผลการประเมิน ถ้าพบว่าเรื่องที่จะศึกษา มีผู้อื่นทำแล้วด้วยรูปแบบการวิจัยและระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้องเชื่อถือได้ และสามารถตอบคำถามของการวิจัยได้ชัดเจนแล้ว ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำวิจัยซ้ำ ให้เสียทั้งเวลาและงบประมาณ หากวิเคราะห์แล้วพบว่า ความรู้เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถตอบปัญหาการวิจัยได้ จำเป็นต้องทำวิจัยเรื่องนี้ โดยระบุว่าจะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
     การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ควรบรรยายในลักษณะการสรุปประเมินวิเคราะห์ดังกล่าว ไม่ใช่นำรายงานเหล่านั้นมาย่อ หรือยกเอาบทคัดย่อของแต่ละบทความมาประติดประต่อกัน เพราะจะทำให้เหตุผลต่างๆอ่อนลงไปมาก

          ภิรมย์  กมลรัตนกุล  (http://rdi.snru.ac.th/UserFiles/File/3(1).pdf)  กล่าวว่า  ก่อนที่จะวางแผนทำการวิจัยเรื่องใดก็ตาม ควรจะมีการทบวนวรรณกรรม ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราจะทำวิจัย อย่างละเอียด และรอบคอบ เพื่อให้เข้าใจอย่างแท้จริง เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ โดยในขั้นตอนแรก ต้องแน่ใจเสียก่อนว่า เรากำลังจะศึกษาเรื่องอะไร 
     แหล่งที่มาของวรรณกรรมเหล่านี้ อาจรวบรวมได้มาจาก กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ,  ตำรามาตรฐาน ในสาขาที่จะทำวิจัย, วารสารต่าง ๆ , Current Contents ซึ่งรวบรวมสารบัญของสาขาต่าง ๆ เอาไว้, Index Medicus, Science Citation Index  หรือ MEDLINE ( MEDLARS on LINE) ซึ่งเป็นระบบวิเคราะห์ จัดเก็บ และเรียกใช้ ข้อมูลทางการแพทย์ โดยอาศัยคอมพิวเตอร์มาช่วย เป็นต้น เมื่อค้นได้รายงานงานต่าง ๆ ออกมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ ต้องแสดงให้เห็นถึง ความสามารถในการใช้วิจารณญาณ ในการประเมิน บทความเหล่านั้น โดยความจะ วิเคราะห์ออกมา ใน 2 ประเด็น คือ
          ก. บทความนั้นถูกต้องและเชื่อถือได้หรือไม่ ?
          ข. สามารถประยุกต์ (Applicable) เข้ากับเรื่องที่เราจะศึกษาหรือไม่ ?
     จากผลการวิเคราะห์ ถ้าพบว่า เรื่องที่เรากำลังจะศึกษา มีผู้อื่นทำไปแล้ว ด้วยรูปแบบการวิจัย และระเบียบวิธีวิจัย ที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ และสามารถตอบคำถามของการวิจัย ของเราได้ชัดเจนแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะมาทำวิจัยซ้ำให้เสียทั้งเวลา และงบประมาณอีก เป็นการลดความซ้ำซ้อน ไปได้ระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม งานวิจัยที่มีผู้ทำไว้แล้ว เราอาจจะทำใหม่ได้ ถ้าผลการวิเคราะห์ พบว่ารายงานที่ทำไปแล้ว ไม่ถูกต้อง หรือไม่น่าเชื่อถือ เช่น รูปแบบการวิจัย ไม่เหมาะสม ระเบียบวิธีวิจัยไม่ถูกต้อง หรือผลนั้น ไม่สามารถประยุกต์ เข้ากับประชากรของเราได้  การสรุป การศึกษารายงานอื่น ที่เกี่ยวข้อง ควรสรุป วิเคราะห์ออกมาว่า รายงานทั้งหมด เกี่ยวกับเรื่องนั้น มีจำนวนเท่าไร ในจำนวนนั้น ที่มีน่าเชื่อถือได้กี่เรื่อง ที่ไม่น่าเชื่อถือมีปัญหาอะไรบ้าง และในจำนวนที่เชื่อถือได้นี้ มีที่เห็นด้วยกับสมมติฐานของเราเท่าไร และมีที่คัดค้านเท่าไร โดยสรุป ออกมาให้ได้ว่า ในกรอบความรู้นั้น มีอะไรที่ทราบแล้ว และมีอะไรที่ยังไม่ทราบ โดยทั่วไป ควรจะวิเคราะห์ออกมา ในลักษณะที่ว่า ความรู้เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่สามารถตอบปัญหา การวิจัยของเราได้ จึงจำเป็น ต้องทำวิจัยในเรื่องนี้ โดยระบุว่า เมื่อทำวิจัยเสร็จแล้ว จะนำผลการวิจัย ไปใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้าง
    การเขียนโครงร่าง การวิจัยในส่วนนี้ ควรบรรยายในลักษณะการสรุปวิเคราะห์ ดังกล่าวมาแล้ว ไม่ใช่นำรายงานเหล่านั้น มาย่อ หรือยกเอาบทคัดย่อ  (abstract) ของแต่ละบทความ มาปะติดปะต่อกัน เพราะจะทำให้เหตุผลต่าง ๆ อ่อนลงไปมาก

         http://www.learners.in.th/blogs/posts/450209  กล่าวว่า  ก่อนจะวางแผนทำวิจัยเรื่องใด ควรมีการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำวิจัยอย่างละเอียดและรอบคอบ เพื่อทำให้เข้าใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับเรื่องนั้น
     การอ่านเอกสารจะต้องใช้วิจารณญาณในการประเมิน โดยวิเคราะห์ใน 2 ประเด็น คือ เอกสารนั้นถูกต้องและเชื่อถือได้หรือไม่ แล้วสามารถประยุกต์เข้ากับเรื่องที่เราจะศึกษาหรือไม่
     จากผลการประเมิน ถ้าพบว่าเรื่องที่จะศึกษา มีผู้อื่นทำแล้วด้วยรูปแบบการวิจัยและระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้องเชื่อถือได้ และสามารถตอบคำถามของการวิจัยได้ชัดเจนแล้ว ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำวิจัยซ้ำ ให้เสียทั้งเวลาและงบประมาณ หากวิเคราะห์แล้วพบว่า ความรู้เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถตอบปัญหาการวิจัยได้ จำเป็นต้องทำวิจัยเรื่องนี้ โดยระบุว่าจะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
     การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ควรบรรยายในลักษณะการสรุปประเมินวิเคราะห์ดังกล่าว ไม่ใช่นำรายงานเหล่านั้นมาย่อ หรือยกเอาบทคัดย่อของแต่ละบทความมาประติดประต่อกัน เพราะจะทำให้เหตุผลต่างๆอ่อนลงไปมาก 

          สรุป 
     ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Review of Related Literatures)  คือ  ก่อนจะทำวิจัย  ควรทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำวิจัยอย่างละเอียดและรอบคอบ เพื่อทำให้เข้าใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับเรื่องนั้น  โดยวิเคราะห์ใน 2 ประเด็น คือ เอกสารนั้นถูกต้องและเชื่อถือได้หรือไม่ แล้วสามารถประยุกต์เข้ากับเรื่องที่เราจะศึกษาหรือไม่  ถ้าพบว่าเรื่องที่จะศึกษา มีผู้อื่นทำแล้วด้วยรูปแบบการวิจัยและระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้องเชื่อถือได้ และสามารถตอบคำถามของการวิจัยได้ชัดเจนแล้ว ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำวิจัยซ้ำให้เสียทั้งเวลาและงบประมาณ หากวิเคราะห์แล้วพบว่า ความรู้เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถตอบปัญหาการวิจัยได้ จำเป็นต้องทำวิจัยเรื่องนี้ โดยระบุว่าจะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร  และการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ควรบรรยายในลักษณะการสรุปประเมินวิเคราะห์

          อ้างอิง
   สุรเชษฎ์  เพ็ญพร.  [ออนไลน์].  http://www.gotoknow.org/posts/452402.  เข้าถึงเมื่อ  15  พฤศจิกายน  2555.
    ภิรมย์  กมลรัตนกุล.  [ออนไลน์].  http://rdi.snru.ac.th/UserFiles/File/3(1).pdf.  เข้าถึงเมื่อ  15  พฤศจิกายน  2555.
   http://www.learners.in.th/blogs/posts/450209.  เข้าถึงเมื่อ  15  พฤศจิกายน  2555.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น