หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สือประสม คืออะไร

          กิดานันท์ มลิทอง (http://www.st.ac.th/av/inno_multimedia.htm) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า สื่อประสมหรือสื่อหลายแบบ (Multimedia) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถผสมผสานระหว่างข้อความ ข้อมูล ตัวเลข ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ตลอดจนระบบโต้ตอบกับผู้ใช้ (Interactive) มาผสมผสานเข้าด้วยกัน
        สื่อประสมหรือมัลติมีเดีย หมายถึงการนำเอาสื่อหลาย ๆ อย่าง เช่น รูปภาพ เทป แผ่นโปร่งใส มาใช้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนการสอน ต่อมาเมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้มากขึ้น และสามารถใช้งาน ได้ทั้งภาพนิ่ง เสียง ข้อความและภาพเคลื่อนไหว ทำให้ความหมายของสื่อประสมเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งส่วนประกอบหลัก ที่มีใช้ทั่วไปของคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียจะมี CD-ROM sound card และลำโพง เพิ่มเข้ามาในคอมพิวเตอร์ หรืออาจมีส่วนประกอบที่เกี่ยวกับการใช้งานวิดีโอด้วย นอกจากนี้ยังมีความหมายรวมถึงการใช้การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เครื่องวิดีโอเทปเสียง ซีดีรอม กล้องดิจิตอล โทรทัศน์ฯลฯ ให้ทำงานร่วมกัน การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมอุปกรณ์หลาย ๆ อย่างดังกล่าวจะต้องอาศัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) และอุปกรณ์ (Hardware) ต่าง ๆ ประกอบกัน บางครั้งจึงเรียกว่าสถานีปฏิบัติการมัลติมีเดีย (Multimedia workstation) 


          เศรษฐพงศ์ เสนาเพ็ง (http://cs.ssru.ac.th/s51122201117/index.html) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า สื่อประสมคือการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงและนำเสนอในรูปข้อความรูปภาพ เสียง วีดิทัศน์ โดยเชื่อมโยงกับอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้เพื่อการท่องไปในเนื้อเรื่อง การมีปฏิสัมพันธ์ การสร้างและการสื่อสาร


          http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=5903.0 ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า สื่อประสม (multimedia theory) เป็นการนำเอาสื่อการสอนหลาย ๆ อย่าง มาสัมพันธ์กัน และ มีคุณค่าที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันอย่างมีระบบ สื่อการสอนอย่างหนึ่งอาจใช้เพื่อเร้าความสนใจ ในขณะที่อีกสื่อใช้อธิบายข้อเท็จจริงของเนื้อหา การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียน มีประสบการณ์จากประสาทสัมผัส ให้นักเรียนได้ค้นพบวิธีการ ที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น


          สรุป
     สื่อประสม หมายถึงการนำเอาสื่อหลาย ๆ อย่าง เช่น รูปภาพ เทป แผ่นโปร่งใส มาใช้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนการสอน 


          ที่มา
     1. กิดานันท์ มลิทอง. สื่อประสม (Multimedia) . (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก :   http://www.st.ac.th/av/inno_multimedia.htm . วันที่สืบค้นข้อมูล : 27 กรกฏาคม 2555.  

     2.  เศรษฐพงศ์ เสนาเพ็งความหมายของคำว่าสื่อประสม. (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก :   http://cs.ssru.ac.th/s51122201117/index.html . วันที่สืบค้นข้อมูล : 27 กรกฏาคม 2555. 
     3.  สื่อประสมกับการเรียนการสอน . (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก :    http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=5903.0 . วันที่สืบค้นข้อมูล : 27 กรกฏาคม 2555. 

สื่อการสอน คืออะไร

          http://oohlively1.blogspot.com/ ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพประเภทของสื่อการเรียนการสอนสื่อการเรียนการสอนแบ่งตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภทคือ
     1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่ สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ     2. สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ     3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่ การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติ การฝึกงาน การจัดนิทรรศการ และสถานการณ์จำลอง     4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation) การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail: E-mail) และการใช้ WWW (World Wide Web)


          นริศรา โพธิ์ขำ (http://narissaraenglish.blogspot.com/2007/08/1.html) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้


          อัจฉรา  วาทวัฒนศักดิ์ (http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-13225.html) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า 
สื่อการสอนหมายถึง สิ่งซึ่งใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติให้แก่ผู้เรียน หรือทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ มนุษย์รู้จักนำเอาสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาให้เป็นสื่อการสอน ตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 1930 เป็นต้นมา ด้วยความเจริญก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ทำให้สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ตลอดจนวิธีการแปลก ๆ ถูกนำมาใช้เป็นสื่อการสอนกันอย่างกว้างขวาง เช่น การใช้โทรทัศน์เพื่อการศึกษาทั้งในระบบวงจรปิด และในระบบทางไกล หรือการใช้ชุดการสอนเพื่อการเรียนรู้เป็นรายบุคคล เป็นต้น





          สรุป


     
สื่อการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้สื่อต่างๆ เช่น สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เป็นต้น


          ที่มา
     1. ความหมาย ประเภทและประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน. (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก :   http://oohlively1.blogspot.com/ . วันที่สืบค้นข้อมูล : 26 กรกฏาคม 2555.  
     2.  นริศรา โพธิ์ขำสื่อการสอนความหมายของสื่อการสอน. (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก :   http://narissaraenglish.blogspot.com/2007/08/1.html . วันที่สืบค้นข้อมูล : 26 กรกฏาคม 2555.      3. อัจฉรา  วาทวัฒนศักดิ์. สื่อกับการจัดการเรียนการสอน. (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก :    http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-13225.html  . วันที่สืบค้นข้อมูล : 26 กรกฏาคม 2555. 

เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร

          https://sites.google.com/site/krunoinetwork/thekhnoloyi-sarsnthes-pheux-kar-suksa ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ


          http://thaigoodview.com/node/25772?page=0%2C0 ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษา ดังนี้ 
     1. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ หลายด้าน มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Web เป็นต้น     2. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา   โดยเฉพาะการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน การดำเนินการ  การติดตามและประเมินผลซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ     3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ในเกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล  เช่น  การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่นการใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เทเลคอมเฟอเรนซ์ เป็นต้น


          ฉัตรชัย  เรืองมณี (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/106346) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบันคงไม่มีใครปฏิเสธ ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ (InformationTechnology) หรือที่เรียกว่า IT ได้ เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นการสื่อสารข้อมูลเป็นไปด้วย ความรวดเร็วและเชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึงและกว้างขวาง(Globalization) เทคโนโลยีทางด้านการสื่อสาร (Communication) และ Computer ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศ (Information)  ที่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดเครือข่ายข้อมูลที่เป็นเหมือน ใยแมงมุมครอบคลุมทั่วโลกหรือ WWW (World Wide Web) ที่เราเห็น ได้จากการใช้งานในระบบInternetซึ่งได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต ประจำวันไปเสียแล้วและกำลังขยายปริมาณจำนวนผู้ใช้มากขึ้นๆใน ทุกวันมีการใช้Internetในการสืบค้นข้อมูลความรู้ทั่วไปการติดต่อ สื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ    เช่นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์  (e-mail),  การพูดคุย(Chat)  หรือ การใช้ Video conference เป็นต้น   การทำธุรกิจการค้า (e-commerce) การใช้เพื่อการบันเทิงต่างๆ เป็นการดูหนัง,ฟังเพลง,การอ่านนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Magazine) รวมทั้งe-Bookที่อาจมาแทนที่กระดาษโนอนาคตอันใกล้ อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีสารสนเทศอาจมีทั้งคุณและโทษแต่ทั้งน้ี้ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะสามารถเลือกใช้ให้เป็นประโยชน์ในทางที่ดีได้อย่างไร ซึ่งเราสามารถนำระบบเทคโนโลยีสาสนเทศมาใช้เพื่อการพัฒนา ทางด้านการศึกษาได้เป็นอย่างดี 


          สรุป
     ปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือที่เรียกว่า IT ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น การสื่อสารข้อมูลเป็นไปด้วยความรวดเร็วและเชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึงและกว้างขวาง เทคโนโลยีทางด้านการสื่อสาร และ Computer ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดเครือข่ายข้อมูลที่เป็นเหมือน ใยแมงมุมครอบคลุมทั่วโลกหรือ WWW (World Wide Web) ที่เราเห็น ได้จากการใช้งานในระบบ Internet ซึ่งได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันไปเสียแล้วและกำลังขยายปริมาณจำนวนผู้ใช้มากขึ้นๆในทุกวันมีการใช้ Internet ในการสืบค้นข้อมูลความรู้ทั่วไปการติดต่อ สื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ    เช่นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์  (e-mail),  การพูดคุย(Chat)  หรือ การใช้ Video conference เป็นต้น รวมทั้งe-Bookที่อาจมาแทนที่กระดาษในอนาคตอันใกล้ ซึ่งเราสามารถนำระบบเทคโนโลยีสาสนเทศมาใช้เพื่อการพัฒนา ทางด้านการศึกษาได้เป็นอย่างดี 


          ที่มา
     1. เทคโนโลยีมารสนเทศเพื่อการศึกษา. (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก :    https://sites.google.com/site/krunoinetwork/thekhnoloyi-sarsnthes-pheux-kar-suksa . วันที่สืบค้นข้อมูล : 26 กรกฏาคม 2555.  
     2. บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา.เข้าถึงได้จาก :  http://thaigoodview.com/node/25772?page=0%2C0 . วันที่สืบค้นข้อมูล : 26 กรกฏาคม 2555. 
     3. ฉัตรชัย  เรืองมณี . บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา. (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก :   http://www.gotoknow.org/blogs/posts/106346 . วันที่สืบค้นข้อมูล : 26 กรกฏาคม 2555. 

เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร

          สิริวดี  เวทมาหะ (http://siriwadee.blogspot.com/2008/05/blog-post_27.html) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)มาจากการผสมคำระหว่างสารสนเทศ (Information)กับคำว่าเทคโนโลยี(Technology) เทคโนโลยี หมายถึง เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เทคโนโลยีสารสนเทศจึงหมายถึง การติดต่อสื่อสาร การส่งข้อมูลทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ข้อความ ตัวเลข เสียง ภาพโดยผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้งการนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระบบเครือข่าย โดยผ่านระบบโทรคมนาคม
เทคโนโลยีสารสนเทศจึง หมายถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการจัดหา วิเคราะห์ ประมวล จัดการและจัดเก็บ การพิมพ์ การสร้างรายงาน การเรียกใช้หรือแลกเปลี่ยน และเผยแพร่สื่อสารข้อมูล ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของรูป เสียง ตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหว รวมไปถึงการนำสารสนเทศและข้อมูลไปปฏิบัติตามเนื้อหาของสารสนเทศนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของผู้ใช้


          http://www.jadtem.com/4473/ ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (อังกฤษ: Information technology หรือ IT) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เครื่องเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)


          www.itexcite.com › IT-Learning › ความรู้ทั่วไป ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology, IT) หมายถึงเทคโนโลยีในการประมวลผลสารสนเทศ (คำว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว) ซึ่งก็คือเทคนิควิธีการต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการข้อมูล (ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล) เช่น การจัดเก็บข้อมูล การสื่อสารข้อมูล การสืบค้นข้อมูล การแสดงผลข้อมูล เป็นต้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การจัดการข้อมูล เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว และง่ายดายยิ่งขึ้น ส่งผลต่อการพัฒนาและความก้าวหน้าต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเรา


          สรุป
     เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology, IT) หมายถึงเทคโนโลยีในการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งก็คือเทคนิควิธีการต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการข้อมูล เช่น การจัดเก็บข้อมูล การสื่อสารข้อมูล การสืบค้นข้อมูล เป็นต้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การจัดการข้อมูล เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว และง่ายดายยิ่งขึ้น 


          ที่มา
     1สิริวดี  เวทมาหะ. เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร. (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก :  http://siriwadee.blogspot.com/2008/05/blog-post_27.html. วันที่สืบค้นข้อมูล : 26 กรกฏาคม 2555. 
     2 เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร . (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก : http://www.jadtem.com/4473/. วันที่สืบค้นข้อมูล : 26 กรกฏาคม 2555.  
     3. เทคโนโลยีสารสนเทศ คืออะไร. (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก :  www.itexcite.com › IT-Learning › ความรู้ทั่วไป. วันที่สืบค้นข้อมูล : 26 กรกฏาคม 2555. 

เทคโนโลยี หมายถึงอะไร

          http://bussabong.blogspot.com/ ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า เทคโนโลยี หมาย ถึง กระบวนการหรือวิธีการในการนำความรู้เรื่องแนวคิดมาประยุกต์องค์ประกอบหรือ องค์ความรู้ต่างๆ มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อให้การดำเนินงานในวงการต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

          สิริวดี  เวทมาหะ (http://siriwadee.blogspot.com/2008/05/blog-post_27.html) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า เทคโนโลยี เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น


           www.com5dow.com/...IT/2223-เทคโนโลยี-คืออะไร.html ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า เทคโนโลยี (Technology) คือ การใช้ความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจน ผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่ง ขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น


          สรุป
     เทคโนโลยี คือการนำเอาแนวความคิด เครื่องมือ หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น


          ที่มา
     1. ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา. (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก :  http://bussabong.blogspot.com/. วันที่สืบค้นข้อมูล : 26 กรกฏาคม 2555. 
     2. สิริวดี  เวทมาหะ. เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร. (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก :  http://siriwadee.blogspot.com/2008/05/blog-post_27.html. วันที่สืบค้นข้อมูล : 26 กรกฏาคม 2555. 
     3. เทคโนโลยี คืออะไร. (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก :   www.com5dow.com/...IT/2223-เทคโนโลยี-คืออะไร.html  . วันที่สืบค้นข้อมูล : 26 กรกฏาคม 2555. 

นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร

          อรรคเดช โสสองชั้น  (http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น


          http://www.namonpit.ac.th/file/ei.pdf ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา  คือ  การปรับประยุกต์ ความคิดใหม่ วิธีการใหม่ รูปแบบใหม่ เทคนิคใหม่ แนวทางใหม่ ที่สร้างสรรค์และพัฒนาทั้งจากการต่อยอดภูมิปัญญาเดิม หรือจากการคิดค้นขึ้นมาใหม่ให้เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในระบบการศึกษา  นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย


          http://bussabong.blogspot.com/ ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษา หมาย ถึง การประยุกต์ใช้สหวิทยาอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้แนวคิด เครื่องมือ เทคนิคและวิธีกาต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตามจุดมุ่งหมาย


          สรุป
     นวัตกรรมทางการศึกษา คือ การประยุกต์ความคิดใหม่ วิธีการใหม่ รูปแบบใหม่ เทคนิคใหม่ แนวทางใหม่ ที่สร้างสรรค์และพัฒนาทั้งจากการต่อยอดภูมิปัญญาเดิม หรือจากการคิดค้นขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา


          ที่มา
     1. อรรคเดช โสสองชั้นนวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :  http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138. วันที่สืบค้นข้อมูล : 26 กรกฏาคม 2555. 

     2นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร. (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก :  http://www.namonpit.ac.th/file/ei.pdf. วันที่สืบค้นข้อมูล : 26 กรกฏาคม 2555. 
     3. ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา. (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก :  http://bussabong.blogspot.com/. วันที่สืบค้นข้อมูล : 26 กรกฏาคม 2555. 

นวัตกรรม คืออะไร

          จรินทร์ อาสาทรงธรรม (http://business.vayoclub.com/index.php?topic=1195.0) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม (Innovation)คือ การเรียนรู้ การผลิต และการใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่ เพื่อให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการกำเนิดผลิตภัณฑ์ การบริการ กระบวนการใหม่ การปรับปรุงเทคโนโลยี การแพร่กระจายเทคโนโลยี และการใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์และเกิดผลพวงทางเศรษฐกิจและสังคม


          อรรคเดช โสสองชั้น (http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า “นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย


          มาลินี  ธนารุณ (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/11973?) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า โทมัส ฮิวส์ (Hughes,1987) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมว่า เป็นการนำเอาวิธีการใหม่ มาปฏิบัติหลังจากที่ได้ผ่านการทดลองและได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับแล้ว และมีความแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา


          สรุป
     นวัตกรรม คือ การเรียนรู้ การปฏิบัติ การผลิตหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือ พัฒนาดัดแปลงมาจากของเดืมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยมากขั้น


          ที่มา
    1. จรินทร์ อาสาทรงธรรม. Innovation หรือ นวัตกรรม คืออะไร?. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://business.vayoclub.com/index.php?topic=1195.0 . วันที่สืบค้นข้อมูล : 26 กรกฏาคม 2555. 
    2อรรคเดช โสสองชั้น. ความหมายของ นวัตกรรมทางการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138. วันที่สืบค้นข้อมูล : 26 กรกฏาคม 2555. 
    3มาลินี  ธนารุณ นวัตกรรม คืออะไร . (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/11973?. วันที่สืบค้นข้อมูล : 26 กรกฏาคม 2555. 


     

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)

           บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง 52 ( http://dontong52.blogspot.com/) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฏีนี้ไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกัน ช่วยกันเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม นักศึกษาคนสำคัญ ได้แก่ สลาวิน เดวิดจอห์นสัน และรอเจอร์ จอห์สัน
          
          ณัชชากญญ์  วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฏีนี้ไว้ว่า แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้
           
          ทิศนา แขมมณี(2554:98-106)  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฏีนี้ไว้ว่า  การเรียนรู้แบบร่วมมือ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม นักการศึกษาที่สำคัญที่เผยแพร่แนวคิดของการเรียนรู้แบบนี้ คือ สลาวิน (Slavin) เดวิด จอห์นสัน (David Johnson) รอเจอร์ จอห์นสัน (Roger Johnson) กล่าวว่า ในการสอนโดยทั่วไป เรามักจะไม่ให้ความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน ส่วนใหญ่จะมุ่งไปที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน หรือระหว่างผู้เรียนกับบทเรียน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี 3 ลักษณะ คือ 
     1. ลักษณะแข่งขันกัน ผู้เรียนแต่ละคนจะพยายามเรียนให้ได้ดีกว่าคนอื่น เพื่อให้ได้คะแนนดี ได้รับการยกย่อง หรือได้รับการตอบแทนในลักษณะต่าง ๆ
      2. ลักษณะต่างคนต่างเรียน คือ แต่ละคนต่างก็รับผิดชอบดูแลตนเอง ให้เกิดการเรียนรู้ไม่ยุ่งเกี่ยวกับคนอื่น
     3. ลักษณะร่วมมือกัน หรือช่วยกันในการเรียนรู้ คือ แต่ละคนต่างก็รับผิดชอบในการเรียนรู้ของตน และในขณะเดียวกันก็ต้องช่วยให้สมาชิกคนอื่นเรียนรู้ด้วย
องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
     การเรียนรู้แบบร่วมมือไม่ได้มีความหมายเพียงว่า มีการจัดให้ผู้เรียนเข้ากลุ่มแล้วให้งาน และบอกผู้เรียนให้ช่วยกันทำงานเท่านั้น การเรียนรู้เป็นแบบร่วมมือได้ ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ประการ คือ
      1. การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน มีความตระหนักว่า สมาชิกกลุ่มทุกคนมีความสำคัญ และความสำเร็จของกลุ่มขึ้นกับสมาชิกทุกคน สมาชิกแต่ละคนจะประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อกลุ่มประสบความสำเร็จ
      2. การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด การที่สมาชิกในกลุ่มมีการพึ่งพาช่วยเหลือเกื้อกูลกันเป็นปัจจัยที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน ในทางที่จะให้กลุ่มบรรลุเป้าหมาย สมาชิกของกลุ่มจะห่วงใย ไว้วางใจ ส่งเสริม และช่วยเหลือกัน
     3. ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน สมาชิกในกลุ่มการเรียนรู้ทุกคนจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบและพยายามทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ
     4. การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และทักษะการทำงานกลุ่มย่อย การเรียนรู้แบบร่วมมือจะประสบความสำเร็จได้ ต้องอาศัยทักษะที่สำคัญหลายประการ เช่น ทักษะทางสังคม การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
     5. การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือจะต้องมีการวิเคราะห์กระบวนการทำงานของกลุ่มเพื่อช่วยให้กลุ่มเกิดการเรียนรู้และปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น
ผลดีของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
     1. มีความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายมากขึ้น
     2. มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนดีขึ้น
     3. มีสุขภาพจิตดีขึ้น
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน
     1. ด้านการวางแผนจัดการเรียนการสอน กำหนดจุดมุ่งหมายของบทเรียนทั้งด้านความรู้และทักษะกระบวนการต่าง ๆ
      2. ด้านการสอน อธิบายคำชี้แจงเกี่ยวงานของกลุ่ม ผู้เรียนต้องทำความเข้าใจให้ตรงกัน
     3.ด้านการควบคุมกำกับและการช่วยเหลือกลุ่ม
     4. ด้านการประเมินผลและวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้
          
          สรุป  ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning) แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  
องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ 
     1) การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน
      2) การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด
     3) ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน
     4) การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย 
     5) การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม
ประเภทของกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ
     1) กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างเป็นทางการ
     2) กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือย่างไม่เป็นทางการ
     3) กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างถาวร


          ที่มา
     1. บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง 52. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://dontong52.blogspot.com/. วันที่สืบค้นข้อมูล : 10กรกฏาคม 2555.
     2. ณัชชากัญญ์  วิรัตนชัยวรรณ.ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :  http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486. วันที่สืบค้นข้อมูล : 10 กรกฏาคม 2555.

     3. ทิศนา แขมมณี.2554.ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน(Constructionism)

           ณัชชากญญ์  วิรัตนชัยวรรณ ( http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฏีนี้ไว้ว่า แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น   
          
          ศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอบภาษาอังกฤษ สพป.อุตรดิตถ์ เขต 2 (http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฏีนี้ไว้ว่า แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงาน โดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถ ใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การประเมินตนเอง การประเมินโดยครูและเพื่อน การสังเกต การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน
            
          บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง 52 ( http://dontong52.blogspot.com/) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฏีนี้ไว้ว่า เป็นทฤษฎีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ผู้พัฒนาทฤษฎีนี้ คือ ศาสตราจารย์ ซีมัวร์ เพพอร์ท แห่งสถาบันเทคโนโลยีเมสซาซูเซตส์ แนวคิดนี้คือ การเรียนรู้ที่เกิดจากการสร้างพลังการเรียนรู้ในตนเองของผู้เรียน การนำความคิดไปสร้างสรรค์ชิ้นงาน โดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
           
          สรุป ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้ที่ดีจะเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงาน  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น   



          ที่มา
     1. ณัชชากัญญ์  วิรัตนชัยวรรณ.ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :  http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486. วันที่สืบค้นข้อมูล :10 กรกฏาคม 2555.
     2. ศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอบภาษาอังกฤษ สพป.อุตรดิตถ์ เขต 2. ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :  http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97. วันที่สืบค้นข้อมูล : 10 กรกฏาคม 2555.
    3.  บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง 52. ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://dontong52.blogspot.com/. วันที่สืบค้นข้อมูล : 10กรกฏาคม 2555.

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)

          ณัชชากญญ์  วิรัตนชัยวรรณ ( http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฏีนี้ไว้ว่า เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์  รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ  เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล  นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว  ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย  การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป  
          
         บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง 52 ( http://dontong52.blogspot.com/) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฏีนี้ไว้ว่า วีก็อทสกี้ เป็นนักจิตวิทยาชาวรัสเซียทฤษฎีเชาว์ปัญญาของวีก็อทสกี้เน้นความสำคัญของวัฒนธรรม สังคม และการเรียนรู้ที่มีต่อพัฒนาการเชาว์ปัญญา  วีก็ทสกี้แบ่งระดับเชาว์ปัญญาออกเป็น 2 ขั้น คือ
1) เชาว์ปัญญาขั้นเบื้องต้น คือ เชาว์ปัญญามูลฐานตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเรียนรู้
2) เชาว์ปัญญาขั้นสูง คือ เชาว์ปัญญาที่เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ที่ให้การอบรมเลี้ยงดู ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้ โดยใช้ภาษา วีก็อทสกี้ได้แบ่งพัฒนาการทางภาษา เป็น 3 ขั้น คือ
- ภาษาที่ใช้ในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เรียกว่า ภาษาสังคม
- ภาษาที่พูดกับตนเอง (3-7 ขวบ)
- ภาษาที่พูดในใจเฉพาะตน 7 ขวบขึ้นไป
สรุปได้ว่าการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เป็นกระบวนการในการ Acting on ไม่ใช่ Taking in
          
          ศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอบภาษาอังกฤษ สพป.อุตรดิตถ์ เขต 2 (http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฏีนี้ไว้ว่า ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความ เข้าใจจากประสบการณ์ รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และ สิ่งต่างๆ เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้ (process of knowledge construction) เป้าหมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่ แน่นอนตายตัว ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้ เกิดขึ้น ผู้เรียนได้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุม ตนเองในการเรียนรู้ บทบาทของครูจะเป็นผู้ให้ความร่วมมือ อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ตามทฤษฏีนี้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคล การประเมินควรใช้วิธีการที่หลากหลาย การวัดผลจะต้องใช้กิจกรรมหรืองานในบริบทจริงด้วย ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องจำลองของจริงมา ก็สามารถทำได้ แต่เกณฑ์ที่ใช้ควรเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในโลกความจริงด้วย
           
          สรุป  ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism) เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์  รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ  


          ที่มา
     1. ณัชชากัญญ์  วิรัตนชัยวรรณ.ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism) . (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :  http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486. วันที่สืบค้นข้อมูล : 9 กรกฏาคม 2555.
     2. บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง 52. .ท ฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism) . (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://dontong52.blogspot.com/. วันที่สืบค้นข้อมูล : 9 กรกฏาคม 2555.
     3. ศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอบภาษาอังกฤษ สพป.อุตรดิตถ์ เขต 2. ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism) . (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :  http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97. วันที่สืบค้นข้อมูล : 9 กรกฏาคม 2555.

ทฤษฏีพหุปัญญา (Theory of Multiple Inteligences)

          ศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอบภาษาอังกฤษ สพป.อุตรดิตถ์ เขต 2 ( http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฏีนี้ไว้ว่า ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ
          1. เชาวน์ ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน ประกอบด้วย
- เชาวน์ปัญญาด้านภาษา (Linguistic intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logical mathematical intelligence)
- สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี (Musical intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ (Bodily kinesthetic intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น (Interpersonal intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง (Intrapersonal intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ (Naturalist intelligence)
          เชาวน์ ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้ คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
          2. เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
          
          บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง 52 (http://dontong52.blogspot.com/) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฏีนี้ไว้ว่า ผู้บุกเบิกทฤษฎีนั้ คือ การ์ดเนอร์ จากมหาวิทยาลัยอาร์วาร์ด ได้ให้คำนิยาม “เชาว์ปัญญา” (Intelligence)ไว้ว่า หมายถึง ความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ หรือการสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง
การ์ดเนอร์มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. เชาว์ปัญญาของบุคคลมี 8 ประการด้วยกัน ได้แก่
     1.1 เชาว์ปัญญาด้านภาษา
     1.2 เชาว์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์ หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ
     1.3 สติปัญญาด้านมิตรสัมพันธ์
     1.4 เชาว์ปัญญาด้านดนตรี
     1.5 เชาว์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ
     1.6 เชาว์ปัญญาด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น
     1.7 เชาว์ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง
     1.8 เชาว์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ
2. เชาว์ปัญญาของแต่ละคนจะไม่อยู่คงที่ แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม

         
         ณัชชากญญ์  วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฏีนี้ไว้ว่า ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ  2  ประการ คือ
1.  เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น  แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน  ประกอบด้วย 
-   เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical intelligence) 
-   สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence) 
-   เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)
     เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้  คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น  และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน 
2.   เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
          
          สรุป  ทฤษฏีพหุปัญญา (Theory of Multiple Inteligences) การ์ดเนอร์ ได้ให้คำนิยาม “เชาว์ปัญญา” (Intelligence)ไว้ว่า หมายถึง ความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ หรือการสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง  การ์ดเนอร์มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. เชาว์ปัญญาของบุคคลมี 8 ประการด้วยกัน ได้แก่
     1.1 เชาว์ปัญญาด้านภาษา
     1.2 เชาว์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์ หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ
     1.3 สติปัญญาด้านมิตรสัมพันธ์
     1.4 เชาว์ปัญญาด้านดนตรี
     1.5 เชาว์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ
     1.6 เชาว์ปัญญาด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น
     1.7 เชาว์ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง
     1.8 เชาว์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ
2. เชาว์ปัญญาของแต่ละคนจะไม่อยู่คงที่ แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม



          ที่มา
     1. ศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอบภาษาอังกฤษ สพป.อุตรดิตถ์ เขต 2. ทฤษฏีพหุปัญญา (Theory of Multiple Inteligences). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :  http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97. วันที่สืบค้นข้อมูล : 9 กรกฏาคม 2555.
      2. บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง 52. .ทฤษฏีพหุปัญญา (Theory of Multiple Inteligences). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://dontong52.blogspot.com/. วันที่สืบค้นข้อมูล : 9 กรกฏาคม 2555.

     3. ณัชชากัญญ์  วิรัตนชัยวรรณ.ทฤษฏีพหุปัญญา (Theory of Multiple Inteligences). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :  http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486. วันที่สืบค้นข้อมูล : 9 กรกฏาคม 2555.

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory)

          ศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอบภาษาอังกฤษ สพป.อุตรดิตถ์ เขต 2 (http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฏีนี้ไว้ว่า เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้ เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด
          
           ณัชชากญญ์  วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฏีนี้ไว้ว่า  เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์  โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง  ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า  การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์  
           
         บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง 52 (http://dontong52.blogspot.com/) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฏีนี้ไว้ว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล เป็นทฤษฎีที่สนใจเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฎีนี้เริ่มตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1950 จนถึงปัจจุบัน  คลอสเมียร์ ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์ กับการทำงานของสมอง  การรู้คิด หรือ เมอทคอคนิชัน (matacognition) ประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับบุคคล งาน และกลวิธี
         
          สรุป   ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory) ทฤษฏีนี้สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์  โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง  โดยมีแนวคิดว่า  การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์  


          ที่มา
     1. ศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอบภาษาอังกฤษ สพป.อุตรดิตถ์ เขต 2. ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :  http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97. วันที่สืบค้นข้อมูล : 9 กรกฏาคม 2555.
     2. ณัชชากัญญ์  วิรัตนชัยวรรณ.ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :  http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486. วันที่สืบค้นข้อมูล : 6 กรกฏาคม 2555.
     3. บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง 52. .ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://dontong52.blogspot.com/. วันที่สืบค้นข้อมูล : 9 กรกฏาคม 2555.